ReadyPlanet.com
dot dot
dot
เนื้อหา
dot
dot
เหตุผลของการใช้ช้างไทย
dot
bulletทำไมเลือกใช้ช้างในการบำบัด
bulletทำไมต้องเป็นช้างไทย
dot
โครงการช้างบำบัด
dot
bulletความเป็นมาของโครงการช้างบำบัด
bulletมาตรการความปลอดภัย
dot
เว็บเพื่อนบ้าน
dot
ภาควิชากิจกรรมบำบัด คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
dot
ติดต่อเรา

dot
bulletโครงการช้างบำบัดเทิดพระเกียรติสมเด็จพระปิยะมหาราช


แบนเนอร์ตัวอย่าง


มาตรการความปลอดภัย

 

มาตรการ ความปลอดภัย
 
1) มาตรการความปลอดภัยสำหรับเด็กระหว่างร่วมกิจกรรมกับช้าง
 
        -  เด็กได้รับการแนะนำให้รู้จักช้างโดยผ่านสื่อภาพถ่าย VDO เกี่ยวกับช้างของตน
        -  ฝึก ทดสอบและพัฒนาสมรรถภาพของเด็กให้พร้อม ต่อกิจกรรมร่วมกับช้าง
        -  จัดกิจกรรมแนะนำช้างที่เหมาะสม ไม่ทำให้เด็กตื่นกลัวช้าง
        -  เด็กรู้และเข้าใจวิธีปฏิบัติต่อช้างผ่านการกำกับดูแลจากนักบำบัด ควาญช้าง และพี่เลี้ยงผู้ร่วมกิจกรรม
        -  จัดตารางเวลาเหมาะสมกับกิจวัตรของช้าง ช้างไม่เครียด เด็กสนุกสนาน
        -  เลือกช้างที่มีบุคลิกสอดคล้องกับเด็ก
        -  ฝึกอบรม นักบำบัด ควาญช้าง เจ้าหน้าที่ และผู้ปกครอง ให้รู้และเข้าใจกิจกรรมช้างบำบัด สามารถเข้าร่วม
           และเสริมประสิทธิภาพ ของการบำบัดได้อย่างเหมาะสม
        -  ก่อนเปลี่ยนกิจกรรมบำบัด จะต้องมีการทดสอบ จนเกิดความมั่นใจ ไม่มีข้อผิดพลาดใดๆ
        -  ป้องกันและควบคุมปัจจัย ที่อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุ ทุกกรณี ทั้งทางด้าน ช้าง วัสดุ อุปกรณ์ และกิจกรรมร่วม
           กับช้าง
 
2) มาตรการความปลอดภัยสำหรับช้างที่มีผลต่อความปลอดภัยของเด็ก
 
        - ช้างที่เข้าโครงการต้องปลอดโรค ที่สามารถติดต่อมาถึงเด็ก
        - มีการฝึก การทดสอบพฤติกรรม และการตอบสนองของช้าง จากการปฏิบัติกิจกรรม การบำบัด จนมั่นใจใน
          ความปลอดภัยต่อเด็กและช้าง
        - มีการวิเคราะห์ พฤติกรรมของช้าง และเด็ก ระหว่างการดำเนินกิจกรรมบำบัด เพื่อปรับให้เหมาะสมต่อการ
          พัฒนาของเด็กทุกวัน
        - มีเจ้าเหน้าที่ ควาญช้าง คอยดูแลความปลอดภัยตลอดการดำเนินกิจกรรม
        - มีระบบการให้อาหาร น้ำ การพักผ่อน อาหารเสริมอย่างเพียงพอ
        - มีกิจกรรมคลายเครียดให้กับช้าง ระหว่างการทำกิจกรรมบำบัด เช่น การลงอาบและว่ายน้ำในสระน้ำ การนวด
          และผ่อนคลายกล้ามเนื้อให้ช้าง
        - ฝึกให้ช้างจำกลิ่น เสียง และหน้าตา ท่าทางของเด็ก ในฐานะเพื่อนเล่นกัน
        - ประเมินผล ปรับแผนกิจกรรมและแจ้งข้อมูลให้เจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายทราบ และปฏิบัติตามทุกขั้นตอน
 






Copyright © 2011 All Rights Reserved.

โครงการช้างไทยบำบัดเด็กออทิสติก
ภาควิชากิจกรรมบำบัด คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ที่อยู่ :  เลขที่ 110 ถนนอินทวโรรส ตำบล :  ศรีภูมิ อำเภอ : เมือง
จังหวัด : เชียงใหม่      รหัสไปรษณีย์ : 50200
เบอร์โทร :  +6653-94-9295     แฟ็กซ์ :  +6653-94-9257

E-mail: changbumbud.amscmu@gmail.com